การประเมินผลการเรียนรู้
http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-2.html ได้รวบรวมบทบาทของการวัดและประเมินผลการศึกษาไว้ว่า
เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอนแล้วจะพบว่าการวัดและประเมินผลเข้าไปมีบทบาทแทรกอยู่ในกระบวนการเรียนการสอน 3 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 วัดผลและประเมินผลก่อนการเรียนการสอน
มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะตรวจสอบพฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียนว่ามีความพร้อม และมีความสามารถพอที่จะเรียนรู้ในเรื่องที่จะสอนต่อไปมากน้อยเพียงใด ควรที่จะเพิ่มเติมความรู้หรือทักษะพื้นฐานในเรื่องใดก่อนหรือไม่ หรืออาจจะใช้ผลจากการวัดนี้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อจะได้เลือกใช้วิธีสอน กิจกรรม และอุปกรณ์ให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ช่วงที่ 2 วัดผลและประเมินผลในขณะทำการเรียนการสอน
มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นั่นคือในขณะที่ครูกำลังดำเนินการสอนในแต่ละขั้นตอนตามลำดับนั้น ครูจำเป็นต้องมีการทดสอบย่อยควบคู่ไปด้วยตลอดเวลา อย่างที่เรียกว่า “สอนไป สอบไป”ทั้งนี้ก็เพื่อจะดูว่าในแต่ละเนื้อหาย่อยที่ครูกำลังดำเนินการสอนอยู่นั้น นักเรียนประสบความสำเร็จเพียงใดจะสอนในหน่วยต่อไปได้หรือไม่ หรือจำเป็นต้องสอนซ่อมเสริมหน่วยย่อยเดิมเสียก่อนการสอบวัดในช่วงนี้จัดเป็นการสอบวัดที่เรียกว่าการประเมินผลย่อย(Formative Evaluation)
ช่วงที่ 3 วัดผลและประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน
มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบโดยสรุปของผล การเรียนการสอนทั้งหมดว่าเมื่อครบตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้วนักเรียนมีความ สำเร็จในการเรียนรู้ทั้งสิ้นอย่างไร ลักษณะของการประเมินผลจึงเป็น การประเมินผลรวม (Summative Evaluation) กล่าวคือจะเป็นการสอบวัดในลักษณะสรุปรวมทุกหน่วยการเรียนที่เรียนไปแล้วเพื่อตัดสินได้ – ตกในวิชานั้น
http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?id=88814 ได้รวบรวมและกล่าวเกี่ยวกับบทบาทของครูและผู้เรียนในการประเมินผลการเรียนรู้ว่า หลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ (Content Standards) เป็นเป้าหมาย เกณฑ์ในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียนที่ครอบคลุมความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้จึงเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการเรียนการสอนและการวัด ประเมินผล การวัดและประเมินผลถือเป็นจุดสำคัญขั้นตอนหนึ่งที่จะบ่งชี้ได้ว่าผู้เรียน บรรลุถึงมาตรฐานการเรียนรู้หรือไม่เพียงใด ครูผู้สอนและผู้เรียนจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการที่จะร่วมกันวางแผนการประเมิน และดำเนินการวัดและประเมินผลให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้
สิ่งที่ต้องการสำหรับครูผู้สอนก็คือทำอย่างไรจึงจะประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่เนื้อหาสาระที่เป็นองค์ความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ครูผู้สอนจึงต้องทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้เสียก่อนให้ชัดเจน ก่อนที่จะดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1.ทำอย่างไรให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะตามตัวชี้วัดที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนด โดยผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด
2.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานถูกนำไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีการเปลี่ยนแปลง อะไรบ้างในการพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดนั้น
3.มีการกำหนดเป้าหมายการประเมิน คือ สิ่งที่ต้องการวัด วิธีการประเมินเครื่องมือ และเกณฑ์การประเมินในการวางแผนการประเมินอย่างไรบ้าง
4.ดำเนินการประเมินตามวิธีการและเครื่องมือที่กำหนด เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด
5.ประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนตลอดเวลา
เป้าหมายแห่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1. องค์ความรู้ (ความรู้เนื้อหา) / สารสนเทศ (Knowledge / Information)
2.ทักษะ / กระบวนการ (Skills / Process)
3.การคิดและการใฝ่เหตุผล (Thinking and Reasoning) เช่น การเปรียบเทียบ วิเคราะห์ จัดจำพวก อ้างเหตุผลพิสูจน์ ข้อสรุป ตัดสินใจ
4.การสื่อสาร (Communication) เช่น พูดปากเปล่า สื่อสารกับบุคคล อธิบายแนวคิด
ช่วงที่ 1 วัดผลและประเมินผลก่อนการเรียนการสอน
มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะตรวจสอบพฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียนว่ามีความพร้อม และมีความสามารถพอที่จะเรียนรู้ในเรื่องที่จะสอนต่อไปมากน้อยเพียงใด ควรที่จะเพิ่มเติมความรู้หรือทักษะพื้นฐานในเรื่องใดก่อนหรือไม่ หรืออาจจะใช้ผลจากการวัดนี้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อจะได้เลือกใช้วิธีสอน กิจกรรม และอุปกรณ์ให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ช่วงที่ 2 วัดผลและประเมินผลในขณะทำการเรียนการสอน
มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นั่นคือในขณะที่ครูกำลังดำเนินการสอนในแต่ละขั้นตอนตามลำดับนั้น ครูจำเป็นต้องมีการทดสอบย่อยควบคู่ไปด้วยตลอดเวลา อย่างที่เรียกว่า “สอนไป สอบไป”ทั้งนี้ก็เพื่อจะดูว่าในแต่ละเนื้อหาย่อยที่ครูกำลังดำเนินการสอนอยู่นั้น นักเรียนประสบความสำเร็จเพียงใดจะสอนในหน่วยต่อไปได้หรือไม่ หรือจำเป็นต้องสอนซ่อมเสริมหน่วยย่อยเดิมเสียก่อนการสอบวัดในช่วงนี้จัดเป็นการสอบวัดที่เรียกว่าการประเมินผลย่อย(Formative Evaluation)
ช่วงที่ 3 วัดผลและประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน
มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบโดยสรุปของผล การเรียนการสอนทั้งหมดว่าเมื่อครบตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้วนักเรียนมีความ สำเร็จในการเรียนรู้ทั้งสิ้นอย่างไร ลักษณะของการประเมินผลจึงเป็น การประเมินผลรวม (Summative Evaluation) กล่าวคือจะเป็นการสอบวัดในลักษณะสรุปรวมทุกหน่วยการเรียนที่เรียนไปแล้วเพื่อตัดสินได้ – ตกในวิชานั้น
http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?id=88814 ได้รวบรวมและกล่าวเกี่ยวกับบทบาทของครูและผู้เรียนในการประเมินผลการเรียนรู้ว่า หลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ (Content Standards) เป็นเป้าหมาย เกณฑ์ในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียนที่ครอบคลุมความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้จึงเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการเรียนการสอนและการวัด ประเมินผล การวัดและประเมินผลถือเป็นจุดสำคัญขั้นตอนหนึ่งที่จะบ่งชี้ได้ว่าผู้เรียน บรรลุถึงมาตรฐานการเรียนรู้หรือไม่เพียงใด ครูผู้สอนและผู้เรียนจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการที่จะร่วมกันวางแผนการประเมิน และดำเนินการวัดและประเมินผลให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้
สิ่งที่ต้องการสำหรับครูผู้สอนก็คือทำอย่างไรจึงจะประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่เนื้อหาสาระที่เป็นองค์ความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ครูผู้สอนจึงต้องทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้เสียก่อนให้ชัดเจน ก่อนที่จะดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1.ทำอย่างไรให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะตามตัวชี้วัดที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนด โดยผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด
2.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานถูกนำไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีการเปลี่ยนแปลง อะไรบ้างในการพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดนั้น
3.มีการกำหนดเป้าหมายการประเมิน คือ สิ่งที่ต้องการวัด วิธีการประเมินเครื่องมือ และเกณฑ์การประเมินในการวางแผนการประเมินอย่างไรบ้าง
4.ดำเนินการประเมินตามวิธีการและเครื่องมือที่กำหนด เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด
5.ประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนตลอดเวลา
เป้าหมายแห่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1. องค์ความรู้ (ความรู้เนื้อหา) / สารสนเทศ (Knowledge / Information)
2.ทักษะ / กระบวนการ (Skills / Process)
3.การคิดและการใฝ่เหตุผล (Thinking and Reasoning) เช่น การเปรียบเทียบ วิเคราะห์ จัดจำพวก อ้างเหตุผลพิสูจน์ ข้อสรุป ตัดสินใจ
4.การสื่อสาร (Communication) เช่น พูดปากเปล่า สื่อสารกับบุคคล อธิบายแนวคิด
เป้าหมายแห่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1. องค์ความรู้ (ความรู้เนื้อหา) / สารสนเทศ (Knowledge / Information)
2.ทักษะ / กระบวนการ (Skills / Process)
3.การคิดและการใฝ่เหตุผล (Thinking and Reasoning) เช่น การเปรียบเทียบ วิเคราะห์ จัดจำพวก อ้างเหตุผลพิสูจน์ ข้อสรุป ตัดสินใจ
4.การสื่อสาร (Communication) เช่น พูดปากเปล่า สื่อสารกับบุคคล อธิบายแนวคิด
1. องค์ความรู้ (ความรู้เนื้อหา) / สารสนเทศ (Knowledge / Information)
2.ทักษะ / กระบวนการ (Skills / Process)
3.การคิดและการใฝ่เหตุผล (Thinking and Reasoning) เช่น การเปรียบเทียบ วิเคราะห์ จัดจำพวก อ้างเหตุผลพิสูจน์ ข้อสรุป ตัดสินใจ
4.การสื่อสาร (Communication) เช่น พูดปากเปล่า สื่อสารกับบุคคล อธิบายแนวคิด
กุญแจสำคัญที่นำไปสู่การสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ(Understanding)
1.แบบอย่าง (Patterns)
2.การเชื่อมต่อระหว่างกัน (Interconnection) ภาพองค์รวม (the whole)
3.โลกแห่งความเป็นจริง (Authenticity)
4.ประสบการณ์ (Experience)
5.ความเข้าใจในสถานการณ์สำคัญ (The Big picture)
6.ความเข้าใจ (Understanding) การรู้ (Knowing)
สรุป
การวัดผล หมายถึง กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวเลข หรือสัญลักษณ์ ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะ หรือคุณภาพของสิ่งที่วัด โดยใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพหารายละเอียดสิ่งที่วัดว่ามีจำนวนหรือปริมาณเท่าใด เช่น การวัดส่วนสูงของเด็กเป็นการแปลงคุณลักษณะด้านความสูงออกมาเป็นตัวเลขว่าสูงกี่เซนติเมตรหรือนักเรียนสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ 20 คะแนน ก็เป็นการแปลงคุณภาพด้านความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์ออกมาเป็นตัวเลข โดยใช้แบบทดสอบ เป็นต้น ความหมายของการประเมินผล (evaluation) การประเมินผล หมายถึงกระบวนการที่กระทำต่อจากการวัดผล แล้ววินิจฉัยตัดสิน ลงสรุปคุณค่าที่ได้จากการวัดผลอย่างมีกฎเกณฑ์ และมีคุณธรรม เพื่อพิจารณาตัดสินใจว่าสิ่งนั้นดีหรือเลว เก่งหรืออ่อน ได้หรือตก เป็นต้น ดังนั้น การวัดผลและการประเมินผลมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การวัดผลจะทำให้ได้ตัวเลข ปริมาณ หรือรายละเอียดของคุณลักษณะหรือพฤติกรรมของบุคคล จากนั้นจะนำเอาผลการวัดนี้ไปพิจารณาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อตัดสิน หรือลงสรุปเกี่ยวกับสิ่งนั้น ซึ่งเรียกว่าการประเมินผล
ที่มา
http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-2.html. การประเมินผล. สืบค้นเมื่อ 17 ก.ย. 58.
1.แบบอย่าง (Patterns)
2.การเชื่อมต่อระหว่างกัน (Interconnection) ภาพองค์รวม (the whole)
3.โลกแห่งความเป็นจริง (Authenticity)
4.ประสบการณ์ (Experience)
5.ความเข้าใจในสถานการณ์สำคัญ (The Big picture)
6.ความเข้าใจ (Understanding) การรู้ (Knowing)
การวัดผล หมายถึง
กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวเลข หรือสัญลักษณ์ ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะ
หรือคุณภาพของสิ่งที่วัด
โดยใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพหารายละเอียดสิ่งที่วัดว่ามีจำนวนหรือปริมาณเท่าใด
เช่น
การวัดส่วนสูงของเด็กเป็นการแปลงคุณลักษณะด้านความสูงออกมาเป็นตัวเลขว่าสูงกี่เซนติเมตรหรือนักเรียนสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้
20 คะแนน ก็เป็นการแปลงคุณภาพด้านความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์ออกมาเป็นตัวเลข
โดยใช้แบบทดสอบ เป็นต้น
ความหมายของการประเมินผล (evaluation)
การประเมินผล
หมายถึงกระบวนการที่กระทำต่อจากการวัดผล แล้ววินิจฉัยตัดสิน
ลงสรุปคุณค่าที่ได้จากการวัดผลอย่างมีกฎเกณฑ์ และมีคุณธรรม
เพื่อพิจารณาตัดสินใจว่าสิ่งนั้นดีหรือเลว เก่งหรืออ่อน ได้หรือตก เป็นต้น
ดังนั้น
การวัดผลและการประเมินผลมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การวัดผลจะทำให้ได้ตัวเลข
ปริมาณ หรือรายละเอียดของคุณลักษณะหรือพฤติกรรมของบุคคล
จากนั้นจะนำเอาผลการวัดนี้ไปพิจารณาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อตัดสิน
หรือลงสรุปเกี่ยวกับสิ่งนั้น ซึ่งเรียกว่าการประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการศึกษา
เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนตลอดเวลา
ซึ่งจุดมุ่งหมายของการวัดผลและประเมินผลนั้น ไม่ใช่เฉพาะการนำผลการวัดไปตัดสินได้-ตก
หรือใครควรจะได้เกรดอะไรเท่านั้น
แต่ควรนำผลการวัดและประเมินนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาในหลาย ๆ
ลักษณะดังนี้
1.
เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน
หมายถึงการวัดผลและประเมินผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใด
ตอนใด แล้วครูพยายามสอนให้นักเรียนเกิดความรู้
มีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของตนเอง จุดมุ่งหมายข้อนี้สำคัญมาก
หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น ปรัชญาการวัดผลการศึกษา (ชวาล แพรัตกุล. 2516 : 34)
2. เพื่อจัดตำแหน่ง (placement) การวัดผลและประเมินผลวิธีนี้เพื่อเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นๆ
โดยอาศัยกลุ่มเป็นเกณฑ์ว่าใครเด่น-ด้อย ใครได้อันดับที่ 1 ใครสอบได้-ตก
หรือใครควรได้เกรดอะไร เป็นต้น
การวัดผลและประเมินผลวิธีนี้เหมาะสำหรับการตัดสินผลการเรียนแบบอิงกลุ่ม
และการคัดเลือกคนเข้าทำงาน
3. เพื่อวินิจฉัย (diagnostic) เป็นการวัดผลและประเมินผลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาความบกพร่องของผู้เรียนว่าวิชาที่เรียนนั้นมีจุดบกพร่องตอนใด
เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข ซ่อมเสริมส่วนที่ขาดหายไปให้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งในกระบวนการเรียนการสอนเรียกว่าการวัดผลย่อย (formative measurement)
4. เพื่อเปรียบเทียบ (assessment) เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบตนเอง
หรือ เพื่อดูความงอกงามของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาที่ต่างกัน
ว่าเจริญงอกงามเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมากน้อยเพียงใด เช่น การเปรียบเทียบผลก่อนเรียน(pre-test)
และหลังเรียน (post-test)
5. เพื่อพยากรณ์ (prediction) เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อทำนายอนาคตต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร
นั่นคือเมื่อเด็กคนหนึ่งสอบแล้วสามารถรู้อนาคตได้เลยว่า
ถ้าการเรียนของเด็กอยู่ในลักษณะนี้ต่อไปแล้วการเรียนจะประสบผลสำเร็จหรือไม่
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในเรื่องของการแนะแนวการศึกษาว่านักเรียนควรเรียนสาขาใด
หรืออาชีพใดจึงจะเรียนได้สำเร็จ แบบทดสอบที่ใช้วัด จุดมุ่งหมายในข้อนี้ ได้แก่
แบบทดสอบวัดความถนัด (aptitude test) แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญา
(intelligence test) เป็นต้น
6.เพื่อประเมินผล(evaluation)เป็นการนำผลที่ได้จากการวัดไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
เพื่อตัดสินลงสรุปให้คุณค่าของการศึกษา หลักสูตรหรือ
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลว่าเหมาะสมหรือไม่ และควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
ประโยชน์ของการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
การวัดผลและประเมินผลการศึกษา
มีประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่งเพราะว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการตัดสินใจของครู
ผู้บริหารและนักการศึกษา ซึ่งพอจะสรุปประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ (อนันต์
ศรีโสภา. 2522 : 1-2)
1. ประโยชน์ต่อครู
ช่วยให้ทราบเกี่ยวกับพฤติกรรมเบื้องต้นของนักเรียน ครูก็จะรู้ว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานพร้อมที่จะเรียนในบทต่อไปหรือไม่
ถ้าหากว่านักเรียนคนใดยังไม่พร้อมครูก็จะหาทางสอนซ่อมเสริม
นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูปรับปรุงเทคนิคการสอนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพอีกด้วย
2. ประโยชน์ต่อนักเรียน
ช่วยให้นักเรียนรู้ว่าตัวเองเก่งหรืออ่อนวิชาใด เรื่องใด
ความสามารถของตนอยู่ในระดับใด เพื่อที่จะได้ปรับปรุงตนเอง
ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องทางการเรียนของตนให้ดียิ่งขึ้น
3. ประโยชน์ต่อการแนะแนว
ช่วยให้แนะแนวการเลือกวิชาเรียน การศึกษาต่อ
การเลือกประกอบอาชีพของนักเรียนให้สอดคล้องเหมาะสมกับความรู้ความสามารถและบุคลิกภาพตลอดจนช่วยให้สามารถแก้ปัญหาทางจิตวิทยา
อารมณ์ สังคมและบุคลิกภาพต่างๆของนักเรียน
4. ประโยชน์ต่อการบริหาร
ช่วยในการวางแผนการเรียนการสอน ตลอดจนการบริหารโรงเรียน
ช่วยให้ทราบว่าปีต่อไปจะวางแผนงานโรงเรียนอย่างไร เช่น การจัดครูเข้าสอน
การส่งเสริมเด็กที่เรียนดี การปรับปรุงรายวิชาของโรงเรียนให้ดีขึ้น เป็นต้น
นอกจากนั้นแล้วยังมีประโยชน์ต่อการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ
ตามความเหมาะสม
5. ประโยชน์ต่อการวิจัย
ช่วยวินิจฉัยข้อบกพร่องในการบริหารงานของโรงเรียน
การสอนของครูและข้อบกพร่องของนักเรียน นอกจากนี้ยังนำไปสู่การวิจัย การทดลองต่าง ๆ
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษามาก
6. ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง (พิตร
ทองชั้น. 2524 : 7) ช่วยให้ทราบว่าเด็กในปกครองของตนนั้น
มีความเจริญงอกงามเป็นอย่างไร เพื่อเตรียมการสนับสนุนในการเรียนต่อ
ตลอดจนการเลือกอาชีพของเด็ก
สรุป
การวัดผล หมายถึง กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวเลข หรือสัญลักษณ์ ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะ หรือคุณภาพของสิ่งที่วัด โดยใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพหารายละเอียดสิ่งที่วัดว่ามีจำนวนหรือปริมาณเท่าใด เช่น การวัดส่วนสูงของเด็กเป็นการแปลงคุณลักษณะด้านความสูงออกมาเป็นตัวเลขว่าสูงกี่เซนติเมตรหรือนักเรียนสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ 20 คะแนน ก็เป็นการแปลงคุณภาพด้านความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์ออกมาเป็นตัวเลข โดยใช้แบบทดสอบ เป็นต้น ความหมายของการประเมินผล (evaluation) การประเมินผล หมายถึงกระบวนการที่กระทำต่อจากการวัดผล แล้ววินิจฉัยตัดสิน ลงสรุปคุณค่าที่ได้จากการวัดผลอย่างมีกฎเกณฑ์ และมีคุณธรรม เพื่อพิจารณาตัดสินใจว่าสิ่งนั้นดีหรือเลว เก่งหรืออ่อน ได้หรือตก เป็นต้น ดังนั้น การวัดผลและการประเมินผลมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การวัดผลจะทำให้ได้ตัวเลข ปริมาณ หรือรายละเอียดของคุณลักษณะหรือพฤติกรรมของบุคคล จากนั้นจะนำเอาผลการวัดนี้ไปพิจารณาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อตัดสิน หรือลงสรุปเกี่ยวกับสิ่งนั้น ซึ่งเรียกว่าการประเมินผล
ที่มา
http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-2.html. การประเมินผล. สืบค้นเมื่อ 17 ก.ย. 58.
http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?id=88814. การประเมินผลการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 17 ก.ย. 58.
https://www.gotoknow.org/posts/181202. การประเมินผล. สืบค้นเมื่อ 17 ก.ย. 58.
https://www.gotoknow.org/posts/181202. การประเมินผล. สืบค้นเมื่อ 17 ก.ย. 58.